Skip to content

หลังคาฉนวนกันความร้อนพียูโฟม  (PU FOAM)

ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU-FOAM) ประเทศไทย เป็น 1 ในประเทศที่มีอุณหภูมิสูงอันดับต้นๆในเอเชีย โดยอุณภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นทุกปี ทำให้ความต้องการ ทำให้สิ่งก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยของตนเองเย็นสบายนั้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่อยู่อาศัยถือเป็น 1 ในปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  ดังนั้นฉนวนกันความร้อนจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่ใครหลายๆคนกำลังมองหา ดังนั้นเราจึงขอแนะนำฉนวนกันความร้อนที่ป้องกันความร้อนได้ดีที่สุดในปัจจุบันคือฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU FOAM) และนอกจากจะกันความร้อนแล้วยังสามารถช่วยลดเสียงที่เกิดจากฝนตกได้ดีอีกด้วย

 

ฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU Foam) คือการฉีดฉนวนหรือโฟมกันความร้อนลงบนแผ่นเมทัลชีทหรือวัสดุ โดยสารที่ใช้ฉีดมีชื่อว่า โพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam) ที่มีลักษณะเป็นเป็นพลาสติกเหลวชนิดเทอร์โมเซ็ตติ้ง (Thermosetting) ฉนวนกันความร้อนพียูโฟมจะไม่ดูดซับความชื้น และสามารถป้องกันน้ำและป้องกันความชื้นได้ อีกทั้งยังลดการแผ่รังสีและการนำความร้อนได้มากกว่า 95 % โดยส่วนมากเป็นความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อนของแสงอาทิตย์ผ่านฝ้าเพดานลงสู่ภายในห้องหรือตัวอาคาร นั้นคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความร้อนดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุคือการป้องกันไม่ให้ความร้อนกระจายเข้าภายในอาคารที่อยู่อาศัยหรือช่วยให้ความร้อนส่งผ่านเข้ามาภายในอาคารน้อยที่สุด จึงเป็นเหตุผลที่ใครหลายๆคนหันมาใช้ฉนวนกันความร้อนพียูโฟมมากขึ้นในปัจจุบัน

รูปแบบลังคาเมทัลชีทติดฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU-FOAM)

  • พียูโฟม (PU Foam) + อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil Sheet) สีเงินคือ วัสดุ Aluminum Foil 7 microns เป็นวัสดุปิดทับ พียูโฟมกับเมทัลชีทจะทำให้เกิดความทนทานเนื่องจากเสริมด้วยเส้นใย Fiberglass ที่มีคุณสมบัติเหนียวและยืดหยุ่นได้ดีไม่ขาดง่าย และยังสะท้อนแสงช่วยเพิ่มความสว่างภายในอาคาร และช่วยให้ประหยัดได้ดีอีกด้วย
  • พียูโฟม (PU Foam) + พีวีซี (PVC Sheet) สีขาวคือ วัสดุปิดทับ พียูโฟมกับเมทัลชีท ความหนา 0.08 มม. มีการขึ้นลายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของแผ่น PVC ลักษณะคล้าย Wall Paper นิยมใช้งานภายในอาคารที่แสงหรือรังสี UV ที่มาจากแดด เข้าไม่ถึงเนื่องจากรังสี UV จะทำให้ PVC Sheet กรอบ แตกง่าย และเป็นสีเหลือง
  • พียูโฟม (PU Foam) + พีวีซี (PVC Sheet) สีดำคือ วัสดุปิดทับ พียูโฟมกับเมทัลชีท ความหนา 0.08 มม. ขึ้นลายเพื่อให้เกิดความแข็งแกร่งของแผ่น PVC มีลักษณะคล้าย Wall Paper นิยมใช้งานภายในตัวอาคารที่แสงหรือรังสี UV ที่มาจากแดด เข้าไม่ถึงเนื่องจากรังสี UV จะทำให้ PVC Sheet กรอบ แตกง่าย และเป็นสีเหลือง
  • พียูโฟม (PU Foam) + แผ่นเมทัลชีท (Metal Sheet) หรือ แผ่นพียูโฟมแซนวิชที่มีความหนา  1 – 2 นิ้ว นิยมใช้ภายในอาคารที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือ บริเวณที่มีความเสี่ยงในการเกิดประกายไฟ เพราะเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ลามไฟ อายุการใช้งานยาวนาน คงทน ไม่หลุดล่อน  และยังช่วยประหยัดพลังงานได้ดีอีกด้วย

จุดเด่นของฉนวนกันความร้อนพียูโฟม (PU FOAM)

  1. เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวอาคารได้ดี​​
  2. ลดการแผ่รังสี และนำความร้อนได้มากกว่า 95 %
  3. สามารถดูดซับเสียงภายในอาคาร และป้องเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี เช่น เสียงฝนตก​​
  4. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าเนื่องจากลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
  5. ช่วยป้องกันการกัดกร่อน มีความทนทานต่อกรด และด่าง เหมาะสำหรับ อาคารโรงงาน อุตสาหกรรม โรงงานผลิตต่างๆ​​
  6. ช่วยป้องกันการเกิดสนิม หรือการสึกกร่อน การแตกร้าวของหลังคา
  7. ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ ความชื้น และอากาศ​​ได้ดี
  8. ไม่ลามไฟ เนื่องจากฉนวนกันความร้อนพียูโฟม ผสมสารกันลามไฟ
  9. วิธีการประกอบและการติดตั้งทำได้ไม่ยาก และง่ายต่อการปรับปรุงแก้ไข รื้อถอน หรือนำมาติดตั้งใหม่ก็ สามารถทำได้ไม่ยาก
  10. มีความเเข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา และยังมีอายุการใช้งานยาวนาน มากกว่า 30 ปี

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน

error: Content is protected !!